บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรม
ความหมายของนวัตกรรม
มีนักวิชาการหลายท่าน ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation)
ไว้อย่างหลากหลาย อาทิ
Peter F.
Drucker (1995) กล่าวว่า
นวัตกรรม
เป็นความสามารถที่ถูกแสดงออกมาในรูปแบบของการฝึกฝน และนำไปปฏิบัติได้จริง
Michael
E. Porter (1998) กล่าวว่า
นวัตกรรม
เป็นการรวมเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ
และแนวทางใหม่ๆ มาไว้ด้วยกัน
เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานของตนมีศักยภาพเพิ่มขึ้น
Christopher
Freeman (1982) กล่าวว่า
นวัตกรรม คือ
กิจกรรมทางเทคนิค การออกแบบ การผลิต
การจัดการ
โดยนำเอาเครื่องมือที่ทันมัยมาสร้างและพัฒนางาน กิจกรรม ผลิตภัณฑ์
ให้ดีและทันสมัยขึ้น
Morton
J. (1971) กล่าวว่า
นวัตกรรม เป็นการปรับปรุงของเก่าให้ใหม่ขึ้น
และพัฒนาศักยภาพของบุคคลและองค์กร นวัตกรรมไม่ใช่การลบล้างสิ่งเก่า
แต่เป็นการปรับปรุงให้ดีขึ้น
บุญเกื้อ
ควรหาเวช (2542) กล่าวว่า เดิมใช้คำว่า นวตกรรม
มาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า Innovare
หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ
เข้ามา เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้งานนั้นๆ ดีขึ้นกว่าเดิม
จากความหมาย คำจำกัดความดังกล่าว นวัตกรรม
หมายถึง การพัฒนาปรับปรุง
หรือนำสิ่งใหม่ๆ
เข้ามาพัฒนางานหรือระบบงานที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น ทันสมัยขึ้น เป็นการเพิ่มเติม ปรับปรุง
กระบวนการทำงานที่อยู่เดิม
โดยอาศัยเทคนิค วิธีการ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้าช่วย
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ
หมายถึง ความรูในผลิตภัณฑ หรือในกระบวนการดําเนินการใดๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีทางดานคอมพิวเตอรซอฟตแวร
(software) คอมพิวเตอรฮารดแวร (hardware) การติดตอสื่อสาร การรวบรวมและการนําขอมูลมาใชอยางทันการ เพื่อกอใหเกิดประสิทธิภาพทั้งทางดานการผลิต
การบริการ การบริหาร และการดําเนินงาน รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ซึ่งจะสงผลตอความไดเปรียบทางเศรษฐกิจ
การคา และการพัฒนาดานคุณภาพชีวิตและคุณภาพของประชาชนในสังคม”
การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศ
( Information Technology ) เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีที่บูรณาการมาจาก
2 สาขาหลัก ดังนี้
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
คอมพิวเตอร์ คือ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการคำนวณหรือประมวลผล และใช้ในการจัดเก็บข้อมูล งานที่เหมาะสมที่จะใช้คอมพิวเตอร์
คือ เป็นงานที่มีปริมาณมากๆ มีขั้นตอนในการประมวลผลซ้ำๆกัน
ต้องการผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำในระยะสั้น และเป็นงานที่ยากในการคำนวณ
คุณสมบัติเด่นของคอมพิวเตอร์
- ความเร็ว
- ความถูกต้องแม่นยำ และ
ความน่าเชื่อถือ
- เก็บข้อมูลจำนวนมาก
ๆ ได้
- ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
ประเภทของคอมพิวเตอร์
1. แบ่งตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้ 3 ประเภท
1.1 อนาลอกคอมพิวเตอร์ (Analog
Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลักการวัด
รับข้อมูลในลักษณะต่อเนื่อง และจากแหล่งกำเนินข้อมูลโดยตรงแล้วทำการแสดงผลทางหน้าปัด
1.2 ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักการวัด
รับข้อมูลในลักษณะเป็นตัวเลขให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่า อนาลอกคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบันนี้ ส่วนมากเป็นดิจิตอลคอมพิวเตอร์
1.3 ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่นำเอาข้อดีของอนาลอกคอมพิวเตอร์
และดิจิตอลคอมพิวเตอร์มารวมกัน เพื่อให้สามารถทำงานได้ทั้งสองด้าน
2. แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน แบ่งได้
2 ประเภท
2.1 คอมพิวเตอร์แบบทั่วไป (General-Purposed Computer) ใช้กับงานได้หลายประเภท
และสามารถทำงานได้กับภาษาคอมพิวเตอร์ได้หลายภาษา
2.2 คอมพิวเตอร์แบบเฉพาะกิจ (Special-Purposed
Computer) ใช้ได้กับงานเฉพาะอย่างประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น
3. แบ่งตามขนาดและราคาของเครื่อง แบ่งได้
4 ประเภท
3.1 ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ราคาแพงที่สุด สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการใช้หลักการที่เรียกว่า
มัลติโปรเซสซิง(Multiprocessing) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้นิยมใช้ในงานด้านกราฟิค
หรือการคำนวณทางวิทยาศาสตร์
3.2 เมนเฟรม (Mainframe) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่รองลงมา และนิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ทั่วๆไป
มีประสิทธิภาพการทำงานรองจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เช่น
ใช้ในการเก็บข้อมูลของนักศึกษาทั้งสถาบัน
คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ยังสามารถเชื่อมโยงใช้งานกับเทอร์มินัลในระยะทางต่างๆ เช่น
เชื่อมโยงควบคุมการใช้เครื่องเอทีเอ็ม ของลูกค้าตามสถานที่ต่างๆ
3.3 มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
มินิคอมพิวเตอร์จะใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับเมนเฟรม
แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างเครื่องเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์คือความเร็วในการทำงาน
มินิคอมพิวเตอร์จะใช้ในธุรกิจขนาดกลาง
นักธุรกิจทั่วไปนิยมใช้เพราะสามารถเชื่อมโยงกับเทอร์มินัลได้หลายๆเครื่อง
3.4 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและมีราคาถูก
จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อีกชื่อหนึ่งที่มักใช้เรียกไมโครคอมพิวเตอร์คือ
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) หรือ PC เพราะมักนำคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ไปใช้กับงานที่เกี่ยวข้องกับตนเองโดยเฉพาะ
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์(Hardware) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถมองเห็น จับต้องได้
เป็นได้ทั้งอุปกรณ์นำเข้าและส่งออกข้อมูล
รวมไปถึงสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
เช่น แป้นพิมพ์ ลำโพง External
Harddisk เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) คือชุดคำสั่งที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้
โดยแบ่งได้ 3 ประเภท
คือ
1) System
Software หรือซอฟต์แวร์ระบบ
ทำหน้าที่เป็นชุดคำสั่งที่คอยควบคุมการทำงานหลักของระบบคอมพิวเตอร์
เช่น Microsoft Window
เป็นต้น
2) Application
Software หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมเสริมที่ช่วยสนับสนุนการทำงานต่างๆ
ของผู้ใช้ เช่น Microsoft Office,
Adobe Photoshop เป็นต้น
3) Utility
หรือโปรแกรมที่ช่วยบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น
โปรแกรมกำจัดไวรัสต่างๆ
โปรแกรมล้างไฟล์ที่ไม่จำเป็น
เป็นต้น
3. บุคลากร (People ware) คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ เป็นได้ทั้งผู้ใช้งาน โปรแกรมเมอร์
หรือผู้บริหาร ก็ได้
4. ข้อมูลและสารสนเทศ(Data/Information)
5. กระบวนการทำงาน
(Procedure) เป็นกระบวนการทำงานที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ และระบบงานขององค์กร
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology)
ตั้งแต่อดีตในปัจจุบันสิ่งมีชีวิตได้
พยายามที่จะติดต่อหรือส่งสัญญาณให้พวกพ้องของตนรับทราบในเรื่องต่างๆ เช่น
การเตือนภัยจากสิ่งรอบข้าง หรือส่งสัญญาณเพื่อให้ทราบในสิ่งต่างๆ ตามที่ตนต้องการ
ซึ่งการสื่อสารข้อมูลนั้นจะต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 องค์ประกอบด้วยกัน
องค์ประกอบพื้นฐานทางด้านการสื่อสาร
- หน่วยส่งข้อมูล
- ช่องทางการส่งข้อมูล
- หน่วยรับข้อมูล
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม
- ผู้ส่งข่าวสาร
- ผู้รับข่าวสาร
- ช่องสัญญาณ
- การเข้ารหัส
- การถอดรหัส
วัตถุประสงค์ของการนำการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้
- เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
- เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
- เพื่อลดเวลาการทำงาน
- เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
- เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การให้ดียิ่งขึ้น
- เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การให้สะดวกยิ่งขึ้น
ระบบเครือข่ายการสื่อสาร
1. LAN ( Local Area Network ) เป็นเครือข่ายที่
เชื่อมต่อในระยะใกล้ เช่น การเชื่อมต่อเครื่งคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน หรือสำนักงาน
เป็นต้น
2. MAN
( Metropolitan Area Network ) เป็นเครือข่ายที่ ครอบคลุมตัวเมือง หรือภาคต่างๆ ในประเทศ
อยู่ในบริเวณรัศมี น้อยกว่า 10 กิโลเมตร
3. WAN
( Wide Area Network ) เป็นเครือข่ายที่มีขอบเขตกว้างไกล
ครอบคลุมทั่วประเทศ หรือระหว่างประเทศ ในการส่งข้อมูลจะใช้ ไมโครเวฟ
และการสื่อสารผ่านดาวเทียม พอๆ กับการใช้สายสัญญาณ หรือสายเคเบิลอื่นๆ
บรรณานุกรม
มีนา เตชะวงค์(2555) “เราจะประเมินสื่อกันอย่างไร” (ออนไลน์)
สืบค้นจาก
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6&group_id=25&article_id= 815. วันที่สืบค้น 28
มิถุนายน 2557.
ไชยยศ
เรืองสุวรรณ . เทคโนโลยีทางการศึกษา
: หลักการและแนวปฏิบัติ . กรุงเทพมหานคร :
วัฒนาพานิช, 2526.
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง(2555) “การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน” (ออนไลน์)
สืบค้นจาก
http://portal.edu.chula.ac.th/edtech/view.php?Page=1251878086465158.
วันที่ สืบค้น 28
มิถุนายน 2557.
พิสณุ ฟองศรี(2549) . การประเมินทางการศึกษา:แนวคิดสู่การปฏิบัติ
(พิมพ์ครั้งที่2) . กรุงเทพฯ :
เทียมฝ่าการพิมพ์.
พรรณี
สวนเพลง . เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้
. กรุงเทพฯ :
ซีเอ็ดยูเคชั่น,
2552.
ศศิธร
เวียงวะลัย . การจัดการเรียนรู้
. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,
2556.
สุมาลี
ชัยเจริญ . เทคโนโลยีการศึกษา:
หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ . ขอนแก่น :
คลังนานาวิทยา,
2551.
สุรศักดิ์ ปาเฮ(2555) “การประเมินผลสื่อการเรียนรู้” (ออนไลน์)
สืบค้นจาก
www.addkutec3.com/wp-content/.../learning-media-evaluation.pdf.
วันที่ สืบค้น
14 มิถุนายน 2557
โอภาส
เอี่ยวสิริวงศ์ . วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ฉบับปรับปรุง) . กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น