ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมการศึกษา
นวตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า
“นว” หมายถึง ใหม่
“กรรม” หมายถึง การกระทำ
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน
เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม จึงหมายถึงการกระทำ ใหม่ ๆ
ซึ่งในที่นี้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้
ทอมัส ฮิวช์ (Thomasl
Hughes, 1971 อ้างถึงใน
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 :
13) ได้ให้ความหมายของ คำว่า นวกรรมว่า “เป็นการนำวิธีการใหม่
ๆมาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว
โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention)
พัฒนาการ (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน
(Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง
ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และเรียกว่า นวกรรม (Innovation)”
มอตัน (Morton, J.A. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ.
2521 : 13) ได้ให้นิยามของนวกรรมไว้ในหนังสือ
Organising for Innovation ของเขาว่านวกรรม หมายถึงการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมาดไป
แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
ไมล์ แมทธิว (Miles
Matthew B. อ้างถึงใน
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 :
14) ได้กล่าว
ถึง นวกรรมไว้ในเรื่อง Innovation in Education ว่า
“นวกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่
การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล”
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 :
14) ได้กล่าวไว้ว่า นวกรรม
หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม
โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมา
หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเล่านี้ได้รับการทดลอง
พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ
ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
วสันต์ อติศัพท์ (2523 :
15) กล่าวไว้ว่า นวกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง “นว”
และ “กรรม” ซึ่งมีความหมายว่า
ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เช่น
นวกรรมทางการแพทย์ หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับ
ปรุง
ตลอดจนแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นวกรรมการศึกษาก็หมายถึง
ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา
กิดานันท์ มลิทอง (2540 :
245) ได้กล่าวไว้ว่า
นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิ-
ภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ
ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม
จากความหมายของคำว่านวัตกรรมจะเห็นว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันแต่พอจะมีเกณฑ์ให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่
โดย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น
นวัตกรรมไว้ดังนี้
1.
จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2.
มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้
โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์
ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3.
มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย
หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4.
ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้
การที่จะรับนวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้น
จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้
ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (กิดานันท์ มลิทอง. 2541:246)
1.
นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ
อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
2.
นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่
3.
มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า
สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้
4.
นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง
นวัตกรรมการศึกษาที่น่าสนใจ
การนำนวัตกรรมมาใช้ในวงการศึกษาเรียกว่า
“นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง
นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่
เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ เป็นต้น
สื่อประสม
(Multi Media)
สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย
ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์
และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน
โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการพลิกหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง
ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
และเสียง
จากความหมาย ของคำว่าสื่อประสม
นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งสื่อประสมออกเป็น
2 กลุ่ม
คือ
·
สื่อประสม (Multimedia
1) เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วม
กันในการเรียนการสอน เช่น
นำวีดิทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย
หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน
การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน
และจะมีลักษณะเป็น “สื่อหลายแบบ”
·
สื่อประสม (Multimedia
2) เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสาร
สนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่าง ๆ
เชนภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ
โดยที่ผู้ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง
การนำสื่อประสมมาใช้ในการศึกษา
สื่อประสมมีประโยชน์ในด้านการศึกษาหลาย ๆ ประการ เช่น เป็นการดึงดูดความสนใจ ของผู้เรียน เป็นการให้สารสนเทศที่หลากหลาย สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลได้เป็นอย่างดี
ที่สำคัญช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบยั้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียนได้ ซึ่งเราสามารถใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษาได้ในลักษณะต่าง
ๆ เช่น
1.
เป็นเกมเพื่อการศึกษา คือ
การใช้เกมในลักษณะของสื่อประสมซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดึงดูด
ความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากความสนุกสนานจากการเล่นเกมตามปกติ
เกมต่าง ๆ จะมีการสอดแทรกความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น
คำศัพท์ ความหมายของวัตถุ แผนที่ทางภูมิศาสตร์
การฝึกทักษะด้านความเร็วในการคิดคำนวณ ฯลฯ
เกมเพื่อการศึกษาเกมหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพื่อให้ความรู้ด้านภูมิศาสตร์และฝึกทักษะด้านการค้นหาได้แก่
เกม ชื่อ Where in the World is
Carmen Sandiago เป็นต้น
2.
การสอนและการทบทวน คือ
การใช้สื่อประสมเพื่อการสอนและทบทวนซึ่งมีด้วยการ
หลายรูปแบบ เช่น การฝึกสะกดคำ การคิดคำนวณ
และการเรียนภาษา ผู้เรียนจะมีโอกาสเรียนรู้จากการสอนในเนื้อหา
และฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนไปด้วยในตัว จนกว่าจะเรียนเนื้อหาในแต่ละตอนได้เป็นอย่างดีแล้วจึงเริ่มในบทใหม่ตามหลักของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เช่น การเรียนภาษาต่างๆ
3.
สารสนเทศอ้างอิง คือ
สื่อประสมที่ใช้สำหรับสารสนเทศอ้างอิงเพื่อการศึกษามักจะ
บรรจุอยู่ในแผ่นซีดี – รอม
เนื่องจากสามารถบรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะเป็นลักษณะเนื้อหานานาประเภทอาทิเช่น
สารนุกรม พจนานุกรม แผนที่โลก
ปฏิทินประจำปี สารทางการแพทย์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ
สื่อหลายมิติ (HyperMedia)
สื่อหลายมิติ คือ
การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว
ซึ่ง “สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก
“ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร
ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม
ลักษณะของข้อความหลายมิติ
(Hypertext)
ข้อความหลายมิติ (Hypertext) เป็นระบบย่อยของ สื่อหลายมิติ(Hypermedia) เป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม
โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจในตอนใดก็ได้
โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2542 : 53 ; วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53) ลักษณะของ Hypertext ที่เห็นกันโดยทั่วไป เช่น Help ของ Windows ซึ่งจะมีข้อความอธิบายในเรื่องหนึ่งอยู่
แต่เมื่อมีคำเฉพาะหรือคำที่สามารถอธิบายในรายละเอียดได้อีก คำนั้นจะถูกเชื่อมไปยังข้อความหรือไฟล์อีกไฟล์หนึ่งเพื่อให้ผู้ใช้เรียกดู
(ธนะพัฒน์ ถึงสุข
และ
ชเนนทร์ สุขวารี, ม.ป.ป : 84)
รูปแบบของข้อความหลายมิติมีลักษณะของการเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นเส้นตรงในมิติเดียว
ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อหาข้อมูลในมิติอื่น ๆ
ได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับตามเนื้อหา ทั้งนี้เพราะ
ข้อความหลายมิติมีการตัดข้อมูลเป็นส่วนย่อยเป็นตอน ๆ เรียกว่า “ จุดต่อ” (nodes) และเมื่อผู้อ่านเรียกจุดต่อขึ้นมาอ่านเราเรียกว่า
“การเลือกอ่าน” (browse)
จุดต่อที่ผู้อ่านจะเรียกมาใช้อ่านนั้นก็เมื่อจุดต่อนั้นมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลหรือเนื้อหาที่กำลังอ่านอยู่นั้น
จุดต่ออาจจะประกอบด้วยคำเพียง 2 – 3 คำ
หรือเป็นข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นก็ได้
การติดต่อกันของจุดต่อนี้เกิดจากการ
“เชื่อมโยง” (link)
ซึ่งผู้อ่านสามารถกระโดดข้ามจากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้โดยการคลิกเมาส์ที่
“ปุ่ม” (button) ซึ่งอาจทำไว้ในลักษณะตัวอักษรดำหนา
ตัวอักษรสี ตัวขีดเส้นใต้ แถบดำ จุดดำ สัญลักษณ์ เช่น
อาจเป็นรูปตาถ้าต้องการแสดงจุดต่อของรูปภาพ หรือทำเป็นรูปลำโพง
หรือไมโครโฟนเพื่อเสนอเสียงพูดหรือเสียงดนตรีก็ได้
ข้อมูลที่บรรจุในข้อความหลายมิติอาจเปรียบเทียบได้เสมือนกับเป็นบัตรหรือแผ่นฟิล์มใสหลาย
ๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ (stacks)
ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้
โดยที่แผ่นแรกจะเป็นข้อมูลเริ่มต้นเพื่อให้อ่านและสามารถใช้เป็นรายการเพื่อพาดพิงหรือค้นคว้าไปถึงข้อมูลในแผ่นอื่น
ๆ ต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติมย่อย ๆ หรือจุดต่อนี้จะปรากฏในกรอบเล็กหรือหน้าต่างเพื่ออธิบายข้อมูลเริ่มต้นนั้นให้กระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น
และจะดึงออกมาได้มากน้อยเท่าไรก็ได้ตามความต้องการต่อจากนั้นผู้อ่านก็สามารถข้ามไปอ่านเนื้อหาข้อมูลที่สนใจต่อไปได้
และสามารถดึงจุดต่อออกมาใช้ได้ทุกเวลาตามต้องการ
จากความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติที่ได้ทราบไปแล้วนั้นว่าจะเสนอข้อมูลในลักษณะตัวอักษร
ภาพกราฟิกอย่างง่าย ๆ
ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาข้อความหลายมิติให้สามารถบรรจุข้อมูลได้หลากหลายประเภทขึ้นจึงได้ชื่อว่าเป็น
“ไฮเปอร์มีเดีย” (Hypermedia) หรือตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานว่า
“สื่อหลายมิติ”
สื่อหลายมิติ (Hypermedia)
เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง
และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์
ภาพกรกฟิกที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี
เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย
เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ
ได้หลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิม (กิดานันท์ มลิทอง. 2540: 269)
สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่นๆ
ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่างๆ ได้ทั้ง ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2542 :
53) Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
(วิเศษศักดิ์
โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 53)
จุดประสงค์ของการใช้สื่อหลายมิติ ( Hypermedia)
1. ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น (Browsing) สืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียนต่างๆ
2. ใช้เพื่อการการเชื่อมโยง (Linking) โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลต่างๆ
ภายในระบบเดียวกัน ตลอดจนเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายภายนอก เช่น การเชื่อมต่อกับ Intranet Internet
เป็นต้น
3. ใช้ในการสร้างบทเรียน (Authoring) สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง
และภาพเคลื่อนไหว
(วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 56)
สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน
จากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง
ทำให้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่าง
ๆ แล้วในปัจจุบัน
ตัวอย่างการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
เช่น โรงเรียนฟอเรสต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์
แรพิดส์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ได้ใช้สื่อหลายมิติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา
โดยใช้ในลักษณะบทเรียนสื่อหลายมิติ
โดยครูและนักเรียนได้ร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูกทำลายของป่าฝนในเขตร้อน
โดยเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าหาเนื้อหาข้อมูลจากห้องสมุดแล้วรวบรวมภาพถ่าย
ภาพเคลื่อนไหว และเสียงจากแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ มาเป็นข้อมูล
แล้วทำการสร้างบทเรียนโดยการใช้ Hypercard และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ในการบันทึกข้อมูลเช่น ใช้เครื่องกราดภาพในการบันทึกภาพถ่าย
ส่วนภาพเคลื่อนไหวและเสียงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
และเนื้อหาบางส่วนบันทึกจากแผ่นซีดี – รอมด้วย เนื้อหาถูกเชื่อมโยงโดย “ปุ่ม”
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดยการเลือกเรียนและศึกษาเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ
นอกจากนี้
ยังมีการเขียนบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในลักษณะสื่อหลายมิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง
ๆ เช่น ToolBook และ AuthorWare ด้วย
ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก
บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
1.
เรียกดูความหมายของคำศัพท์
ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
2.
ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
-
ดูแผนภาพหรือภาพวาด
-
ดูภาพถ่าย ภาพนิ่ง
และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
-
ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด
หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
3.
ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
4.
ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด
แผนที่มโนทัศน์ (concept map) ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
5.
สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ
ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
6.
ใช้แผนที่ระบบ (system
map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป
ซีดี – รอม (Compact Disc – Read Only Memory : CD ROM)
ซีดี –รอม
เป็นสื่อบันทึกประเภทสื่อแสง (optical media) ที่ทำการบันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ได้หลากหลายรูปแบบมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกกลม
เส้นผ่าศูนย์กลาย 4.75 นิ้ว
ผิวหน้าด้วยโลหะสะท้อนแสงเพื่อป้องกันข้อมูลที่บันทึกไว้
สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง 680 เมกะไบต์
ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นได้เพียงอย่างเดียวโดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลเหล่านั้นได้
ซีดี – รอมนั้นก็คือ สื่อบันทึกที่เราเรียกกันว่า “แผ่นซีดี” ที่มาจากคำภาษาอังกฤษว่า
“Compact Disc” นั่นเอง
คุณสมบัติของซีดี-รอม
ซีดีรอมเป็นสื่อที่มีคุณสมบัติที่เป็นข้อได้เปรียบสื่ออื่นมากมายหลายประการ
ได้แก่
1. ความจุข้อมูลมหาศาล ซีดี-รอม
แผ่นหนึ่งสามารถบรรจุข้อมูลได้มากถึง 680 เมกะไบต์ เปรียบเทียบได้กับ หนังสือ
250,000 หน้า
หรือข้อความในกระดาษพิมพ์ดีดจำนวน 300,000 แผ่น
2. บันทึกข้อมูลนานาประเภท เนื่องจากการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดี –
รอมอยู่ในระบบดิจิทัล จึงสามารถบันทึกข้อมูลในลักษณะตัวอักษร
ภาพถ่ายสีและขาวดำ ภาพเคลื่อนไหว ภาพ
กราฟิก เสียงพูด และสียงดนตรี
ได้อย่างมีคุณภาพสูง
3. การสืบค้นฉับไว แม้ว่าซีดี รอม
จะบรรจุข้อมูลจำนวนมหาศาลไว้ก็ตาม แต่การค้นหาข้อมูลในแผ่นซีดี – รอมอยู่ในลักษณะ “เข้าถึงโดยสุ่ม” ซึ่งเป็นการเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาได้รวดเร็วเท่ากันหมดไม่ว่าข้อมูลนั้นจะอยู่ในที่ใดของแผ่น
4.
มาตรฐานสากล แผ่นซีดี – รอม
อยู่ในรูปแบบมาตรฐานที่มีขนาดและลักษณะเดียว
กันกันหมดจึงทำให้สามารถใช้กับหน่วยขับซีดี-รอมหรือเครื่องเล่นซีดี-รอม ทั่วไปได้เหมือน ๆ กัน
5.
ราคาไม่แพง จากความนิยมใช้ซีดี – รอมในปัจจุบัน
จึงทำให้การผลิตแผ่นและ
เครื่องเล่นจำนวนมากมีต้นทุนที่ต่ำลง
แผ่นและเครื่องเลนซีดี-รอมทุกวันนี้จึงมีราคาลดลงมากจนสามารถซื้อหามาใช้กันได้อย่างแพร่หลายทั่วไป
6.
อายุการใช้งานนาน กล่าวกันว่าแผ่นซีดี-รอม
จะมีอายุใช้งานทนทานได้นานตลอด
ไปโดยที่แผ่นไม่ฉีกขาดและไม่มีรอยขูดขีดของหัวเข็มเนื่องจากใช้แสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล
ถึงแม้จะมีคราบสกปรกจากรอยนิ้วมือหรืฝุ่นละออกก็สามารถทำความสะอาดได้
7.
ความคงทนของข้อมูล ซีดี-รอมเป็นสื่อที่ไม่กระทบกระเทือนต่อสนามแม่เหล็กจึง
ทำให้ข้อมูลอยู่คงที่ตอลดไป และที่สำคัญคือ
ไม่ติดไวรัสเนื่องจากไม่สามารถบันทึกทับได้
8.
ประหยัด
เมื่อเทียบขนาดเนื้อที่การบันทึกข้อมูลระหว่างแผ่นซีดี-รอมกับแผ่น
บันทึกแล้วจะเห็นได้ว่าซีดี-รอมแผ่นหนึ่งสามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่นบันทึกหลายร้อยเท่า
9.
ความสะดวก เนื่องจากซีดี-รอม เป็นแผ่นที่มีขนากเล็ก จึงทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่ใน
การเก็บ สามารถพกพาไปใช้ในสถานที่ต่าง ๆ
ได้โดยสะดวก
ประเภทของข้อมูลบนซีดี-รอม
ซีดี-รอมในปัจจุบันมีการบันทึกข้อมูลทุกประเภทลงบนแผ่นเพื่อการใช้ในลักษณะ
“สื่อประสม” ข้อมูลอาจมีอยู่เพียงลำพังหรือรวมอยู่กับข้อมูลประเภทอื่น
ๆ ก็ได้ ประเภทต่าง ๆ ของข้อมูลมีดังนี้
1. ตัวอักษร
ข้อมูลในลักษณะตัวอักษรเป็นประเภทของข้อมูลพื้นฐานที่นิยมบันทึกลงซีดี-รอมซึ่งบันทึกได้มากสุดถึง 680
ล้านอักขระ
2.
เสียง เสียงที่บันทึกลงซีดี-รอมมีอยู่มากมายหลายประเภท
โดยสามารถใช้บันทึกเสียง
แบบ ADPCM ได้มากสุดถึง 18
ชั่วโมง
นับตั้งแต่เสียบบี๊บจนถึงเสียงดนตรี
3.
ภาพกราฟิก ภาพกราฟิกที่บันทึกลงบนแผ่นซีดี-รอมเป็นได้ทั้งภาพถ่ายและภาพวาด
ลายเส้นที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวทำจากโปรแกรมต่าง
ๆ ซึ่งบันทึกอยู่ในสารบบย่อยแยกต่างหากจากแฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวอักษรหรือเสียง
4.
วีดีทัศน์ การบันทึกภาพวีดิทัศน์ที่ใช้เล่นในเวลา 1
วินาทีต้องใช้เนื้อที่บรรจุข้อมูลถึง
22 - 27 เมกะไบต์เลยทีเดียว จึงทำให้ซีดี-รอมแผ่นหนึ่งที่มีความจุ 680
เมกะไบต์สามารถบรรจุภาพวีดิทัศน์ได้เพียง 30
วินาทีเท่านั้น
ซีดี-รอม เพื่อการศึกษา
เนื่องจากซีดี-รอม
เป็นสื่อที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก
ภาพกราฟิกเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์และเสียง
จึงทำให้เหมาะในการบันทึกสารสนเทศนานาประเภทลงไว้ในแผ่นเพื่อความรู้และความบันเทิง
สำหรับด้านการศึกษานั้นได้มีการบันทึกเนื้อหาทั้งที่ให้ความรู้ทั่ว ๆ
ไปและเพื่อการสอนโดยตรงได้ในลักษณะของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
ซึ่งซีดีรอมที่สามารถนำมาใช้ในการให้ความรู้และการสอนมีตัวอย่างดังนี้
-
ใช้เพื่อสอนอ่าน
-
ใช้เพื่อเป็นเกมการศึกษา
-
ให้ความรู้/ฐานข้อมูล
-
กฤตศิลป์
-
ดนตรี
-
ท่องเทียว
ความจริงเสมือน (Virtual Reality :
VR)
ความจริงเสมือน (Virtual Reality) หรือที่เรียกกันย่อ
ๆ ว่า “ วีอาร์ ”
(VR) เป็นกลุ่มเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบที่ผลักดัน ให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกของการเข้าร่วมอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้มีอยู่จริงที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์
พัฒนาการของความเป็นจริงเสมือนได้รับอิทธิพลมาจากแนวความคิดง่าย ๆ
แต่มีอำนาจมากเกี่ยวกับการที่จะเสนอสารสนเทศอย่างไรให้ดีที่สุด คือ ถ้าผู้ออกแบบสามารถให้ประสาทสัมผัสของมนุษย์มีความค่อยเป็นค่อยไปในปฏิสัมพันธ์กับโลกทางกายภาพซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ล้อมรอบตัวเราแล้ว
มนุษย์ก็จะสามารถรับและเข้าใจสารสนเทศได้ง่ายขึ้น
ถ้าสารสนเทศนั้นกระตุ้นการรับรู้สัมผัสของผู้รับ
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนสามารถเลียนการรับรู้สัมผัสของโลกทางกายภาพได้โดยสร้างการรับรู้หลายทางในสิ่งแวดล้อมสามมิติขึ้นมา
ความเป็นจริงเสมือนได้สร้างเนื้อหาสาระของสิ่งที่แสดงให้เห็นโดยการรับรู้ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของคอมพิวเตอร์
เพื่อสนองต่อการเคลื่อนไหวทางกายภาพของผู้ใช้ที่สืบหาด้วยเครื่องรับรู้ของคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ในการทำงานของความเป็นจริงเสมือน
การทำงานของความเป็นจริงเสมือนประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 2
อย่าง คือ จอภาพสวมศีรษะและถุงมือรับรู้
โดยการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์
1. จอภาพสวมศีรษะ (head-mounted display : HMD) หรือที่รู้จักกันว่า “ชุดแว่นตา” (goggles) ประกอบด้วยแว่นตาที่บรรจุจอมอนิเตอร์ขนาดเล็กซึ่งทำด้วยกระจก 3
มิติ เรียกว่า “stereoscopic glasses” ทำมุมกว้างประมาณ 140 องศา
เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นสิ่งที่เป็นนามธรรมในลักษณะ 3 มิติ
ในโลกของความเป็นจริงเสมือนได้
2.
ถุงมือรับรู้ (sensor glove) เป็นถุงมือขนาดเบาที่มีเส้นใยนำแสงเรียงเป็นแนวอยู่ตาม
นิ้วและข้อมือเพื่อเป็นเครื่องรับรู้การเคลื่อนที่และส่งสัญญาณไปยังคอมพิวเตอร์
เมื่อสวมถุงมือนี้แล้วจะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงสิ่งแวดล้อม 3
มิติ
ถุงมือรับรู้จะทำให้ผู้ใช้จับต้องและรู้สึกได้ถึงวัตถุสิ่งของซึ่งไม่มีอยู่ที่นั่นจริง ๆ
3.
ซอฟต์แวร์โปรแกรม การที่จะให้ได้ภาพ 3
มิตินั้นจะต้องใช้ซอฟต์แวร์โปรแกรมเพื่อ
สร้างภาพบนคอมพิวเตอร์ด้วยเพื่อให้ผู้ใช้สามารถท่องสำรวจไปในโลกเสมือนจริงได้
การใช้ความเป็นจริงเสมือนในวงการต่าง ๆ
·
กายศาสตร์ เนื่องจากเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนเป็นการนำร่างกายคนเราเข้าไป
อยู่ในโลกเสมือนจริงจึงสามารถนำมาใช้ทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี
เช่น
องค์การนาซาต้องการออกแบบอุปกรณ์ทางด้านอวกาศและดูว่านักบินอวกาศจะใช้อุปกรณ์เหล่านั้นได้อย่างไรนักวิจัยต้องใช้ความเป็นจริงเสมือนในการทำแบบจำลองอุปกรณ์นั้นและทดสอบว่าร่างกายมนุษย์จะสามารถเข้ากันได้และใช้อุปกรณ์นั้นอย่างไร
·
โบราณคดี
ความเป็นจริงเสมือนจะช่วยในการสำรวจซากโบราณสถานและโบราณ
วัตถุที่ค้นพบได้ว่าของเดิมเป็นอย่างไรและอยู่ในช่วงสมัยใด
·
สถาปัตยกรรม
ความเป็นจริงเสมือนสามารถนำมาใช้ในด้านการออกแบบอาคาร
โดยให้สถาปนิกและลูกค้าสำรวจภายในแบบจำลองและแก้ไขแบบการก่อนสร้างให้เป็นไปตามต้องการ
·
การแพทย์
แพทย์และศัลยแพทย์จะใช้ความเป็นจริงเสมือนในการดูระบบ 3
มิติใน
ร่างกายคนไข้
·
บันเทิง
มีการทดลองสร้างสถานบันเทิงแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน
ในรูปแบบของโรงภาพยนตร์เดิมแต่จะมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกนานาชนิดสำรหับการแสดงประเภทต่าง
ๆ
ความเป็นจริงเสมือนเพื่อการศึกษา
ในวงการศึกษานั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าการสร้างจินตนาการเป็นวิธีการสนการเสนอข้อมูลและมโนทัศน์แก่ผู้เรียนเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจและการปรับตัวให้เข้าได้ในสังคม
การนำความเป็นจริงเสมือนมาใช้ในการศึกษาสามารถใช้ได้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.
สำรวจสถานที่และสิ่งของที่มีอยู่ที่ผู้เรียนยังไม่อาจเข้าถึงได้
2.
สำรวจของจริงซึ่งถ้าไม่มีการเปลี่ยนสัดส่วนขนาดและระยะเวลาแล้วจะไม่สามารถ
สำรวจได้อย่างมีประสิทธิผล
3.
สร้างสถานที่และวัตถุด้วยคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม
4.
มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่อยู่ในที่ห่างไกลออกไปโดยผ่านทางสมาคมที่มีความสนใจ
ในเรื่องเดียวกัน
5.
มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลจริงในโลกความจริงเสมือน
6.
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่เป็นความเป็นจริงเสมือน
อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต คือ
ระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก
เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการสื่อสารข้อมูล เช่นการบันทึกเข้าระยะไกล
การถ่ายดอนแฟ้ม ฯลฯ
อินเทอร์เน็ต คือ ข่ายของข่ายงาน (network
of networks) เนื่องจากเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าด้วยกัน
โดยที่อินเทอร์เน็ตตั้งอยู่ในไซเบอร์สเปซ
ซึ่งเป็นจักรวาลที่สร้างขึ้นโดยระบบคอมพิวเตอร์
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าไปอยู่ในไซเบอร์สเปซได้ โดยใช้โมเด็มและติดต่อกับผู้ใช้คนอื่นได้
การใช้งานในอินเทอร์เน็ต
เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงานได้มากมายหลากหลายประเภทดังนี้
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail : E-Mail) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า อี-เมล์
เป็นการรับส่งข้อความผ่านขายงานคอมพิวเตอร์
ผู้ใช้สามารถส่งข้อความจากข่ายงานที่ตนใช้อยู่ไปยังผู้รับอื่น ๆ ได้ทั่วโลก
2.
การถ่ายโอน (File Transfer
Protocol : FTP) เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลประเภท
ต่าง ๆ
จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นมาบรรจุลงไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา
3.
การขอเข้าใช้ระบบจากระยะไกล
โปรแกรมที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตเพื่อการขอเข้าไปใช้
ระบบจากระบบโปรแกรมหนึ่งที่รู้จักกันดี คือ
เทลเน็ต (Telnet) เป็นการให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้ทรัพยากรหรือขอใช้บริการจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
4.
การค้นหาแฟ้ม
เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นระบบขนาดใหญ่ที่ครอบคลลุมกว้างขวาง
ทั่วโลก โดยมีแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ
มากมายอยู่ในระบบผู้ใช้สามารถสืบค้นมาใช้งานได้
5.
การค้นหาข้อมูลด้วยระบบเมนู
เป็นการใช้ในระบบยูนิกซ์เพื่อค้นหาข้อมูลและขอใช้
บริการข้อมูลด้วยระบบเมนู
6.
กลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าว (Newsgroup) เป็นการรวมกลุ่มของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่
สนใจเรื่องเดียวกันแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือแนวคิดกัน
7.
บริการสารสนเทศบริเวณกว้าง (เวส) (Wide Area
Information Server : WAIS)
เป็นผลการใช้เวสเพื่อเชื่อมโยงศูนย์ข้อมูลที่อยู่ในข่ายงานอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกัน
8.
การสนทนาในข่ายงาน (Internet
Relay Chat : IRC) เป็นการสนทนากันของผู้ใช้โดย
มีการโต้ตอบกันทันทีโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันผ่านเครือข่าย
9.
สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Publisher) หนังสือพิมพ์
วารสาร และนิตยสาร
เช่น TIME,ELLE โดยบรรจุเนื้อหาลงไปในเว็บไซต์ของตน
10.
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide
Web : WWW) หรือที่เรียกสั้น
ๆ ว่า “เว็บ” เป็นการสืบค้น
สารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตในระบบข้อความหลายมิติโดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง
อินเทอร์เน็ตในการศึกษา
เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาได้หลายรูปแบบ
ได้แก่
1.
การค้นคว้า
เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานที่รวมข่ายงานต่าง ๆ มากมายไว้
ด้วยกันจึงทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง
ๆ ทั่วโลก
2.
การเรียนและติดต่อสื่อสาร
ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนติด
ต่อสื่อการกันได้โดยที่ผู้สอนจะเสนอเนื้อหาบทเรียนโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ผู้เรียนเปิดอ่านเรื่องราวและภาพประกอบที่เสนอในแต่ละบทเรียน
3.
การศึกษาทางไกล
การใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาทางไกลอาจจะใช้ในรูปแบบของ
การสื่อสาร
โดยการใช้บทเรียนที่อยู่ในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แทนหนังสือเรียน
4.
การเรียนการสอนอินเทอร์เน็ต
เป็นการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถใช้
โปรแกรมต่าง ๆ
เพื่อทำงานในอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต
เป็นการใช้อินเทอร์เน็ตในกิจกรรมการเรียนการสอนใน
ระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เช่น
การจัดตั้งโครงการร่วมระหว่างสถาบันการศึกษาเพื่อแลก
เปลี่ยนข้อมูลหรือการสอนในวิชาต่าง ๆ
ร่วมกัน โดยเรียกว่า โรงเรียนบนเว็บแผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ
(Interactive Video)
แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ
เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และแผ่นวีดิทัศน์ในรูปของสื่อประสมที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ภาพนิ่ง
เสียง และตัวอักษร โดยมีการเรียกใช้ข้อมูลในลักษณะสื่อหลายมิติ
เพื่อใช้ในการฝึกอบรมและการเรียนการสอน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในการศึกษารายบุคคลและการศึกษาแบบอิสระ
อุปกรณ์ที่ใช้ในแผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ
1. เครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
เป็นเครื่องที่สามารถต่อเข้ากับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในการเล่นเชิงโต้ตอบระดับ 3
ได้
2.
จอภาพ
เพื่อเสนอภาพจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์ ปกติแล้วมักใช้เครื่องรับโทรทัศน์
เป็นจอภาพ
แต่อาจจะใช้จอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์รับภาพและตัวอักษรก็ได้
3.
ชุดไมโครคอมพิวเตอร์
ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลกลบางที่ควรมีเนื้อที่แผ่น
บันทึกแบบแบ็งขนาดตั้งแต่ 100
เมกะไบต์ขึ้นไป
4.
เครื่องเล่นซีดี-รอม
เพื่อเสนอข้อมูลและเนื้อหาบทเรียนจำนวนมากที่ไม่สามารถบรรจุ
ลงในจานบันทึกของคอมพิวเตอร์ได้หมด
5.
อุปกรณ์รับข้อมูล
เพื่อรับข้อมูลการตอบสนองของผู้เรียนในแต่ละขั้นตอนของบท
เรียนซึ่งอาจจะเป็นการตอบคำถามเป็นข้อความหรือการเลือกตอบก็ได้
6.
เครื่องพิมพ์
เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หำหรับพิมพ์ผลการเรียนหรือ
การตอบสนองของผู้เรียนออกมาบนกระดาษ
แนวโน้มของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง
ๆ ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
ต่อไปนี้
1. การรวมตัวของสื่อ เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ทำให้มีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสม
เช่น การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้แผ่นซีดี-รอมบันทึก
ข้อมูล
เป็นต้น
2.
สื่อขนาดเล็ก
สื่อหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้กันอยูในขณะนี้เป็นวัสดุและอุปกรณ์
ที่มีใช้กันมานานแล้วแต่ในปัจจุบันได้อาศัยเทคโนโลยีช่วยในการคิดค้นและพัฒนาให้มีขนาดเล็ก
ลงและใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น กล้องถ่ายวีดิทัศน์ การผลิตแผ่นซีดี ฯลฯ
3. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากจะมีนาดเล็กลงแล้ว
ยังมีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าเดิมมาก สามารถบรรจุเนื้อที่บันทึกข้อมูลได้มาก
ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกลง ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ
สามารถซื้อมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง
4.
ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
ปัจจุบันการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้ผู้เรียนในซึก
โลกหนึ่งสามารถเรียนรู้ไปได้พร้อมกับผู้เรียนอีกซีกโลกหนึ่ง
โดยที่ผุ้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้อง
อยู่สถานที่เดียวกันก็สามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการสอนในลักษณะการประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์
(Video Teleconference)
5.
อินเทอร์เน็ต และเวิร์ล ไวด์ เว็บ อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
มากครอบคลุมไปทั่วโลกและให้บริการแก่ผู้ใช้ได้หลายสิบล้านคนทั่วโลกในบริการต่าง
ๆ กัน
6. ทางด่วนสารสนเทศ (Information
Superhighway) เป็นพื้นฐานโครงสร้างสารสนเทศที่เป็นแนวคิดในการที่จะนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน
โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น